Tag Archives: php

Update Version PHP for WP

Minimum PHP Version Update 5.6.20

เข้ามาอับเดตข่าวของ WordPress กันซักนิดครับ สำหรับใครที่ยังใช้ PHP เวอร์ชั่นเก่า
ต่ำกว่า 5.6.20 ก็อาจจะอับเดต WordPress เวอร์ชั่นใหม่ๆไม่ได้แล้วนะครับ เพราะทาง
WP ได้กำหนดว่าการอับเดตเวอร์ชั่นใหม่ต้องใช้ PHP เวอร์ชั่น 5.6.20 ขึ้นเป็นอย่างน้อย
ถ้าใช้ต่ำกว่านั้นก็จะไม่สามารถอับเดตได้แถมไม่ปลอดภัยอีกต่างหาก แต่ในความเป็นจริง
ณ ปัจจุบันโฮสติ้งส่วนใหญ่ก็ควรจะเป็นเวอร์ชั่น 7 ขึ้นไปได้แล้ว เพราะในตระกูลเวอร์ชั่น 5
นั้นทาง PHP ได้เลิก Support ไปแล้วครับ

สำหรับโฮสติ้งที่ผมใช้อยู่นั้นตอนแรกก็เป็น PHP เวอร์ชั่น 5 ครับ ตัวผมเองก็พึ่งมารู้ว่าเป็น
เวอร์ชั่นเก่าเพราะว่าตัว WP มันขึ้นมาแจ้งเตือนที่หน้าเว็บแอดมินเลยครับว่าให้เราอับเดต
เวอร์ชั่นของ PHP ได้แล้ว แต่พอแจ้งไปที่ Support ให้เขาจัดการ ทางเขาก็โอเคนะครับ
ย้ายเว็บผมไปยังเครืองที่เป็น PHP 7.1 ก็เข้าใจได้ ส่วนใครที่ยังไม่อับเดตผมก็แนะนำว่าให้
รีบอับเดตนะครับ เพราะอีกไม่กี่วันตัว WP 5.2 ก็จะถูกปล่อยออกมาแล้ว และอีกอย่างคือ
ผมแนะนำให้ย้ายไป PHP เวอร์ชั่น 7 ขึ้นไปครับ เพราะอนาคต WordPress เวอร์ชั่นใหม่
จะใช้ PHP 7 เป็นอย่างน้อยแล้วครับ

ฟังก์ชั่น move_uploaded_file ใน PHP

ฟังก์ชั่น move_uploaded_file

ฟังก์ชั่น move_uploaded_file ใน PHP เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้ย้ายไฟล์ที่เราได้อับโหลดขึ้น
Server ผ่านทาง form upload ไปเก็บในโฟลเดอร์ใหม่ ดูไปก็คล้ายกับคำสั่ง copy แต่ว่า
ปลอดภัยกว่า

Description – รูปแบบการใช้งาน

move_uploaded_file( $filename , $destination )
move_uploaded_file( ชื่อไฟล์ , ปลายทางที่จะย้าย )

Return Values – ผลลัพธ์ที่คืนกลับมา

ฟังก์ชั่น move_uploaded_file จะคืนค่า TRUE กลับมาถ้าทำงานสำเร็จ แต่ถ้าเกิดข้อผิดพลาด
ขึ้น เช่น ย้ายไฟล์ไม่ได้ หรือ ชื่อโฟลเดอร์ผิดพลาด ก็จะคืนค่า FALSE กลับมา

Example #1 – การใช้งานพื้นฐานทั่วไป

if(move_uploaded_file($_FILES['FileUpload']['tmp_name'],"upload/".$_FILES['FileUpload']['name'])){
echo "File is valid, and was successfully uploaded.\n";
}

ข้อควรระวัง – ถ้าในโฟลเดอร์มีชื่อไฟล์นั้นอยู่แล้ว ตัว move_uploaded_file จะเขียนทับไฟล์เดิม
เพราะงั้นอย่าพยายามตั้งชื่อไฟล์ให้ซ้ำกัน

คำสั่ง foreach ใน PHP

คำสั่ง foreach ใน PHP

คำสั่ง foreach ใน php เป็นคำสั่งที่ใช้เมื่อต้องการวน loop ที่เป็น array ทั้งหมดซึ่งเรา
ไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามี array อยู่เท่าไหร่ วนทั้งหมดไม่ต้องระบุจำนวนรอบสามารถใช้คำสั่ง foreach
ได้ครับ

foreach – รูปแบบการใช้งาน

foreach ($array as $value)
{
คำสั่งที่ต้องการให้ทำซ้ำ
}

Example #1 – การใช้งานพื้นฐานทั่วไป

$arr = array(1, 2, 3, 4, 5);
foreach ($arr as $value) {
print $value;
}

อันนี้ก็เป็นตัวอย่างการใช้งานแบบพื้นๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน จะแสดงค่าออกมา 12345 ปรกติ

Example #2 – การใช้งานกับ array ที่มี key

$arr = array(
"one" => 1,
"two" => 2,
"three" => 3,
"four" => 4,
"five" => 5);
foreach ($arr as $key => $value) {
print '$arr['.$key.'] => '.$value.'
';
}

จากตัวอย่างนี้จะเห็นว่าเมื่อนำไปใช้กับ array ที่มี key นั้น ไม่ได้ยากหรือซับซ้อนเลย

Example #3 – การใช้งานกับ array หลายมิติ (multi-dimensional arrays)

$arr = array();
$arr[0][0] = "a";
$arr[0][1] = "b";
$arr[1][0] = "c";
$arr[1][1] = "d";

foreach ($arr as $dim1) {
foreach ($dim1 as $dim2) {
print $dim2;
}
}

จากตัวอย่างที่ 3 จะซับซ้อนขึ้นมาเพราะเป็น array แบบ 2 มิติ วิธีการก็ใช้การวน 2 ชั้น คือ
วนในมิติแรกแล้วก็มาวนมิติที่ 2 อีกครั้ง ก็จะได้ค่าออกมา abcd ครับ